• +66 46496845
  • info@womenpeacemakerprogram.org
เที่ยวตามรอยพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในคลองบางกอกใหญ่

เที่ยวตามรอยพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในคลองบางกอกใหญ่

พื้นที่ฝั่งธนบุรีนอกเหนือจากการเป็นพื้นที่กำลังพัฒนาและส่วนขยายที่รองรับความเป็นเมืองของกรุงเทพทางฝั่งตะวันออกแล้ว ยังเป็นพื้นที่สวนผลไม้และที่ตั้งชุมชนโบราณมาตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันแม้ว่าภูมิทัศน์ของพื้นที่ฝั่งธน หลายแห่งจะเปลี่ยนแปลงไปแต่น่าสนใจว่าก็ยังทิ้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์คงเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นลำคลอง วัดเก่า ชุมชนเก่า ซึ่งเส้นทางที่เราจะแนะนำคือเส้นทางตามรอยพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามสถานที่ต่าง ๆ ริมคลองบางหลวง ซึ่งพระองค์เป็นเสมือนภาพแทนของคนฝั่งธนบุรี ด้วยเหตุที่เมื่อพระองค์ได้ตั้งราชธานีขึ้นมาแทนกรุงศรีอยุธยานั้นทรงยกเมืองธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวงนั่นเอง           เมืองธนบุรีเดิมเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา กระทั่งภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้รวบรวมไพร่พลจากทางหัวเมืองตะวันออกเข้ามาขับไล่ทหารพม่าและสถาปนาตั้งเมืองธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวงดังนั้นแม้เวลาจะผ่านมากว่า 250 ปีแล้วแต่ร่องรอยของประวัติศาสตร์สมัยธนบุรียังคงปรากฎให้เห็น ๆ โดยเฉพาะสถานที่ต่าง ๆ ริมคลองบางกอกใหญ่ ได้แก่           วัดโมลีโลกยาราม (ชื่อเดิมคือ วัดท้ายตลาด) เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ติดกับพระราชวังเดิม ในสมัยกรุงธนบุรีวัดแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดหลวงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา, มัสยิดต้นสน ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมที่ตั้งรกรากมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยธนบุรียังเป็นที่ฝังศพเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์(หมุด) ขุนนางของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ, วัดหงส์รัตนราม (ชื่อเดิมวัดหงส์) เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยธนบุรีเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช(ชื่น) อีกทั้งมีตำนานกล่าวถึงเมื่อคราวที่พระองค์ถูกประหารชีวิต ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์พระศพของท่านได้ถูกอัญเชิญเคลื่อนผ่านวัดหงส์ฯด้วยเช่นกัน และพระโลหิตของพระองค์ได้หยดลงบริเวณพื้นที่วัดนี้ จึงได้มีการตั้งศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขึ้น, วัดอินทารามวรวิหาร (เดิม ชื่อวัดบางยี่เรือนอก) เป็นวัดสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวได้ว่าวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช พระองค์ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยของพระองค์วัดอินทารามฯ เป็นสถานที่ตั้งพระเมรุพระมารดาของพระองค์ อีกทั้งในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังทรงเสด็จมาประทับที่วัดแห่งนี้เพื่อวิปัสสนากรรมฐาน เข้าฌาน กระทั่งเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์พระศพก็ถูกนำมาฝังไว้ที่วัดแห่งนี้จนกระทั่งได้มีการตั้งพระเมรุและบรรจุอัฐิของพระองค์ไว้ที่เจดีย์ด้านหน้าวิหาร […]